LOTEKSITE





             การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต้องการเครื่องมือสำหรัยทำการทดสองที่สามารถสนองความต้องการของผู้วิจัยได้ทุกข้อ งานวิจัยจึงจะสามารถดำเนินไปได้โดยราบรื่น     ความต้องการอันสำคัญและมักไม่ได้รับการสนองของนักวิจัยก็คือ "การมีเครื่องมือทดลองที่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องและเสียค่าใช้จ่ายน้อย" เนื่องจากทั้งเวลาและงบประมาณที่มีในการวิจัยนั้นจำกัด
             เมื่อเริ่มเขียนข้อเสนอโครงการ ผู้วิจัยจะมองหาเครื่องมือที่จะมาใช้ทำการทดลอง และเมื่อมองเห็นปัญหาหลายๆข้อแล้ว เขาก็จะล้มเลิกความตั้งใจทั้งๆที่หัวข้อการวิจัยจะนั้นดีมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น              นิสิตบัณฑิตวิทยาลัยสาขาทันตกรรมประดิษฐ์รายหนึ่งต้องการทำการทดลองเพื่อหาความแข็งแรงในการยึดอยู่ของครอบฟันบนรากเทียมหลังจากการให้แรงความล้า เพื่อประกอบวิทยานิพนธ์อันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร     นิสิตดังกล่าวได้สืบหาเครื่องมือกำเนิดแรงความล้าได้และพอเหมาะกับงานนี้ซึ่งก็พบว่ามีอยู่หลายเครื่องในหลายๆมหาวิทยาลัย โดยค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องมือนี้เฉลี่ย 1,500 บาท/ชม.              นิสิตผู้นี้จะต้องทำการทดลองกับชิ้นทดลอง 40 ชุดๆละ 750,000 รอบของแรงที่แปรผันตามเวลาจาก 0-288 นิวตัน     การกำเนิดแรงด้วยความถี่สูงมากก็จะทำให้ชิ้นทดลองร้อนและเสียคุณสมบัติ ความถี่ที่พอเหมาะคือ 30 รอบต่อนาทีซึ่งก็หมายถึงใช้เวลารวมทั้งสิ้น 16,666 ชั่วโมง คิดเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการใช้เครื่องมือ 25 ล้านบาท     สมมุติว่านิสิตผู้นี้สามารถหาทุนตามจำนวนนี้มาได้ก็จะติดปัญหาเรื่องเวลาซึ่งเท่ากับ 1.9 ปีต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปไม่ได้
             ปัญหานี้แก้ได้โดยการสร้างเครื่องมือเฉพาะขึ้นมาสำหรับงานนี้ดังที่เห็นในรูปถ่าย     เครื่องมือนี้สามารถทำการให้แรงความล้าได้พร้อมกัน 8 ขิ้นทดลอง ย่นระยะเวลาลงเหลือเพียง 87 วัน และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นเครื่องมือ Low Tech สร้างได้ในประเทศ ใช้เวลาทั้งออกแบบและสร้างประมาณ 8 เดือนด้วยค่าใช้จ่ายเพียงหลักหมื่นบาทเท่านั้น


                                                       




เครื่องมือทดสอบความล้า (Fatigue Testing Machine) นี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตามรายงานผลการวิจัยเลขที่ 176-ME-2545 ชื่อ Development of a Chewing Simulator โดย สถาพร     สุปรีชากร และ รุจ      จำเดิมเผด็จศึก